เบต้า แคโรทีน (Beta Carotene, β – carotene)
เบต้า แคโรทีน (Beta Carotene) เป็นรงควัตถุสีส้ม มีสูตรทางเคมีคือ C40H56 สามารถพบได้ทั่วไปในผักและผลไม้ โดยเฉพาะแครอทและผักมีสี และถูกจัดเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามิน เอ (pro vitamin A) เนื่องจากสามารถเปลี่ยนรูปเป็นเรตินอล (retinol) ได้ที่ตับและเยื่อบุผนังลำไส้
เนื่องจากเบต้า แคโรทีนเป็นรงควัตถุที่ได้จากธรรมชาติและมีความปลอดภัยกับสิ่งมีชีวิต จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารโดยใช้เป็นสารให้สี (Coloring agent) ในการผลิตอาหาร เพื่อให้อาหารมีสีเหลือหรือสีส้ม มีเลข E-number คือ E160a
*หมายเหตุ: หากต้องการสั่งซื้อสินค้ามากกว่า 5 กิโลกรัม สามารถสั่งซื้อหรือสอบถามได้ทาง Line (@tcspacific)
เบต้า แคโรทีน (Beta Carotene, β – carotene)
เบต้า แคโรทีน (Beta Carotene) เป็นรงควัตถุสีส้ม มีสูตรทางเคมีคือ C40H56 สามารถพบได้ทั่วไปในผักและผลไม้ โดยเฉพาะแครอทและผักมีสี และถูกจัดเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามิน เอ (pro vitamin A) เนื่องจากสามารถเปลี่ยนรูปเป็นเรตินอล (retinol) ได้ที่ตับและเยื่อบุผนังลำไส้
เนื่องจากเบต้า แคโรทีนเป็นรงควัตถุที่ได้จากธรรมชาติและมีความปลอดภัยกับสิ่งมีชีวิต จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารโดยใช้เป็นสารให้สี (Coloring agent) ในการผลิตอาหาร เพื่อให้อาหารมีสีเหลือหรือสีส้ม มีเลข E-number คือ E160a
คุณสมบัติของเบต้า แคโรทีน
- β – carotene มีลักษณะเป็นผลึกหรือผง มีสีส้มเข้มหรือเหลือง ไม่สามารถละลายได้ในน้ำ แต่สามารถละลายได้ในตัวทำละลายไขมัน
- สามารถทนความร้อน และสภาวะกรดหรือด่างได้
- สามารถสลายตัวได้โดยการออกซิไดซ์ เมื่อได้รับความร้อนสูงมาก ๆ สัมผัสอากาศ แสงแดง แสงอัลตราไวโอเลต
แหล่งของเบต้า แคโรทีน
ตัวอย่างอาหารที่มีเบต้า แคโรทีนปริมาณสูง ได้แก่ แครอท ฟักทอง แอพพริคอท หน่อไม้ฝรั่ง บล๊อคโคลี ผักโขม
นอกจากนี้ในผลไม้ไทยก็มีปริมาณเบต้า แคโรทีนอยู่ปริมาณเช่นกัน จากการศึกษาของกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผลไม้ไทยที่มีปริมาณของเบต้าแคโรทีนสูง 10 อันดับแรก ได้แก่
– มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
– มะเขือเทศราชินี
– มะละกอสุก
– กล้วยไข่
– มะม่วงยายกล่ำ
– มะปรางหวาน
– แคนตาลูปเนื้อเหลือง
– มะยงชิด
– มะม่วงเขียวเสวยสุก
– สับปะรดภูเก็ต
ประโยชน์ของเบต้า แคโรทีน
- บำรุงสายตา
เนื่องจากเบต้า แคโรทีนสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามิน เอ ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ทำงานร่วมกับสารโรดอปซิน (rhodopsin) ที่ฝังตัวอยู่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์รูปแท่งในดวงตา ทำให้เกิดการมองเห็น ดังนั้นการบริโภคเบต้า แคโรทีนหรืออาหารที่ปริมาณเบต้า แคโรทีนสูง จึงสามารถช่วยบำรุงสายตาและทำให้เกิดการมองเห็นได้ดีขึ้น - ชะลอความแก่
เบต้า แคโรทีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง จึงสามารถช่วยลดความเสื่อมของเซลล์เนื่องจากอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดกระบวนการแก่ - บำรุงผิวพรรณ
เบต้า แคโรทีนเป็นวิตามินชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึงมีส่วนช่วยในการชะลอความแก่ดังที่กล่าวข้างต้น และยังมีส่วนช่วยในการบำรุงผิว ขับเซลล์ผิวเก่า และทำให้ผิวพรรณกระจ่างใสอีกด้วย - เสริมสร้างภูมิต้านทานในร่างกาย
มีการพบว่าเบต้า แคโรทีนสามารถช่วยกระตุ้นที-เฮลเปอร์เซลล์ (T helper cells, Th cells) ซึ่งเป็นเป็นเซลล์ภูมิต้านทานในร่างกายโดยมีหน้าที่ต้านสิ่งมีแปลกปลอมในร่างกาย
การใช้ผงเบต้า แคโรทีน
- ใช้เป็นสารให้สี (Coloring agent) ในอุตสาหกรรมอาหาร
- ใช้ในด้านเภสัชกรรม
- ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
- ใช้เป็นสารเติมแต่งอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสามารถทำให้เกิดสี
- ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง
- ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์
อ้างอิง
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์