แอซีซัลเฟม โพแทสเซียม (Acesulfame K)
75.00 ฿ – 749.00 ฿
แอซีซัลเฟมโพแทสเซียม หรือ แอซีซัลเฟม เค เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดหนึ่ง รู้จักในชื่อของ E number (additive code) E950 อยู่ในรูปของผลึกสีขาว มีสูตรโมเลกุล C4H4KNO4S และมีมวลโมเลกุล คือ 201.24 g/mol ในปี ค.ศ. 1998 U.S. Food and Drug Administration (FDA) และองค์กรเกี่ยวกับสุขภาพหลายองค์กรยืนยันว่า แอซีซัลเฟม เค มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีงานวิจัยมากกว่า 90 ประเทศพิสูจน์ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นแอซีซัลเฟม เค จึงถูกนำมาใช้ในเครื่องดื่มและอาหารกว่า 4,000 ชนิด ใน 90 ประเทศทั่วโลก
แอซีซัลเฟม โพแทสเซียม (Acesulfame Potassium, Acesulfame K)
แอซีซัลเฟมโพแทสเซียม หรือ แอซีซัลเฟม เค เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดหนึ่ง รู้จักในชื่อของ E number (additive code) E950 แอซีซัลเฟม เค ถูกค้นพบอย่างบังเอิญในปี ค.ศ. 1967 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ Karl Clauss ในสถาบันเคมี Hoechst AG โครงสร้างทางเคมีของแอซีซัลเฟม เค คือ potassium salt of 6-methyl-1,2,3-oxathiazine-4(3H)-one 2,2-dioxide อยู่ในรูปของผลึกสีขาว มีสูตรโมเลกุล C4H4KNO4S และมีมวลโมเลกุล คือ 201.24 g/mol
ในปี ค.ศ. 1998 U.S. Food and Drug Administration (FDA) และองค์กรเกี่ยวกับสุขภาพหลายองค์กรยืนยันว่า แอซีซัลเฟม เค มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีงานวิจัยมากกว่า 90 ประเทศพิสูจน์ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นแอซีซัลเฟม เค จึงถูกนำมาใช้ในเครื่องดื่มและอาหารกว่า 4,000 ชนิด ใน 90 ประเทศทั่วโลก
คุณสมบัติ
แอซีซัลเฟม เค เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ให้รสหวานกว่าน้ำตาลถึง 200 เท่าเช่นเดียวกับแอสพาร์เทม โดย 2 ใน 3 ส่วนให้ความหวานเหมือนแซคคาริน และที่เหลือให้ความหวานเหมือนซูคาโรส แอซีซัลเฟม เค จะมีรสขมหลังการชิมเล็กน้อยเหมือนแซคคาริน โดยเฉพาะที่ความเข้มข้นสูง แต่ก็มีการคิดค้นวิธีการแก้รสขมดังกล่าวได้ โดยใช้ sodium ferulate เป็นตัวกลบ เมื่อนำแอซีซัลเฟม เคไปผสมรวมกับสารให้ความหวานชนิดอื่น เช่น ซูคาโรส แอสพาร์เทม เป็นต้น ซึ่งการผสมนี้จะสามารถช่วยให้มีความหวานเหมือนซูโครสได้โดยการใช้รสของสารให้ความหวานชนิดอื่นกลบรสขมของแอซีซัลเฟม เค ได้
แอซีซัลเฟม เค มีความเสถียรที่อุณหภูมิสูงมากกว่าแอสพาร์เทม ภายใต้สภาวะกรดหรือด่างปานกลาง จึงสามารถใช้ในกับผลิตภัณฑ์เบเกอรีได้ ในเครื่องดื่มน้ำอัดลมมักมีการใช้แอซีซัลเฟม เค ร่วมกับสารให้ความหวานชนิดอื่น ๆ เช่น แอสพาร์เทมและซูคาโรส นอกจากนี้ยังมีการใช้ในการผลิตยาเคี้ยวหรือยาน้ำ เพราะจะทำให้มีรสชาติดีขึ้นและรับประทานง่ายขึ้น
กระบวนการผลิต
แอซีซัลเฟม เค ผลิตจากกระบวนการแปลงกรดแอซีโตน แอซีติก (acetoacetic acid) ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ชนิด และนำไปผสมกับแร่ธาตุในธรรมชาติ เช่น โพแพสเซียม เพื่อให้มีความเสถียรมากขึ้นและอยู่ในรูปผลึก ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน
การประยุกต์ใช้
FDA กำหนดระดับที่ยอมรับได้ต่อวัน (Acceptable Daily Intake, ADI) สำหรับส่วนผสมอาหารหลายชนิด เพื่อความชัดเจนของปริมาณที่สามารถนำใช้ และมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของแต่ละบุคคลในแต่ละวันอีกด้วย ซึ่งค่า ADI ของแอซีซัลเฟม เค อยู่ที่ 15 mg/kg ของน้ำหนักร่างกาย ดังนั้นใน 1 วัน คนที่มีน้ำหนัก 60 กิโลกรัมจะสามารถบริโภคแอซีซัลเฟม เค ได้ประมาณ 900 mg หรือประมาณ 200 g. of sugar equivalent และเนื่องจากในร่ายกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยสลายหรือกักเก็บแอซีซัลเฟม เค ไว้ในร่างกายได้ เมื่อมีการนำเข้าไปในร่างกายแล้ว จะมีการดูดซึมและถูกขับออกอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค จึงมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายมาก ได้แก่
ใช้เป็นส่วนประกอบอาหารสำหรับลดน้ำหนัก
แอซีซัลเฟม เค เป็นสารให้ความหวานที่ไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและไม่ให้พลังงาน แต่ก็มีการวิจัยพบว่า การบริโภคสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ (Non-nutritive sweetener) สามารถทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2
ในปี ค.ศ. 2016 มีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของเครื่องดื่มที่ใช้สารให้ความหวานเทียมในการลดน้ำหนัก พบว่า การศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนโดยอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากอุตสาหกรรมน้ำตาลเทียม พบว่าผลการการทดลองมีความเป็นไปได้มากกว่าการศึกษาที่ไม่ได้การสนับสนุนจากอุตสาหกรรมดังกล่าว และงานวิจัยทั้งสองต่างก็ได้รับการตีพิมพ์ ทำให้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด
การใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหารและเครื่องดื่ม
ในปัจจุบันมีการใช้แอซีซัลเฟม เค เป็นส่วนประกอบของอาหารกว่า 4,000 ชนิดทั่วโลก ซึ่งหน้าที่หลักของแอซีซัลเฟม เค คือใช้เป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนอาหาร ตัวอย่างอาหารที่มีการใช้ แอซีซัลเฟม ได้แก่ ลูกอม ซอส ไซรัป หมากฝรั่ง น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากนม เบเกอรี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และขนมหวานหลากหลายชนิด
เนื่องจากแอซีซัลเฟม เค เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่มีความเสถียรสูง ไม่ว่าจะเป็นในที่อุณภูมิสูงหรือสภาวะกรด จึงนิยมถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เบอเกอรี และเครื่องดื่ม เพราะไม่มีการสลายตัวหรือเกิดสารอื่นระหว่างการผลิต ทำให้มีความปลอดภัยสำหรับอาหารที่มีเงื่อนไขต่าง ๆ
นอกจากใช้เป็นสารให้ความหวานแล้ว แอซีซัลเฟม เค ยังมีข้อดีคือ ไม่ทำให้ฟันผุ เนื่องจากมีงานวิจัยพบว่า แบคทีเรียที่อยู่ในปากของมนุษย์ไม่สามารถย่อยสลายแอซีซัลเฟม เค ได้ ทำให้ไม่เกิดคราบพลัคและกรดอันตราย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดฟันผุ ดังนั้นจึงมีการนำแอซีซัลเฟม เค มาใช้ในการผลิตยาสีฟันหรือผลิตภัณฑ์ภายในช่องปาก
อ้างอิง
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์