สามารถสั่งได้ทางหน้าเว็บไซต์หรือติดต่อเราที่ Line: @tcspacific

Cart

แอสพาร์เทม (Aspartame)

แอสพาร์เทม (Aspartame)

89.00 ฿1,205.00 ฿

แอสพาร์เทม เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ชนิดหนึ่ง ใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลในการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aspartyl-phenylalanine-1-methyl ester เป็นสารไดเปปไทด์ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกรดอะมิโน (amino acid) 2 ชนิด ได้แก่ ฟีนิลอะลานีน (L- phenylalanine) และกรดแอสพาร์ติก (L-aspartic acid)

คุณลักษณะเฉพาะของแอสพาร์เทมคือ เป็นสารให้ความหวานและไม่ให้ผลกระทบเกี่ยวคุณสมบัติด้านกายภาพ เช่น พลังงาน หรือการเป็นก้อน และยังสามารถทำงานร่วมกับสารให้ความหวานชนิดอื่นได้ จึงมีการนำแอสพาร์เทมมาใช้ผลิตอาหารปราศจากน้ำตาล หรืออาหารพลังงานต่ำค่อนข้างมาก

*หมายเหตุ: หากต้องการสั่งซื้อสินค้ามากกว่า 5 กิโลกรัม สามารถสั่งซื้อหรือสอบถามได้ทาง Line (@tcspacific)

Clear
Compare

Share this product

 

แอสพาร์เทม (Aspartame)

แอสพาร์เทม เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ชนิดหนึ่ง ใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลในการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aspartyl-phenylalanine-1-methyl ester เป็นสารไดเปปไทด์ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกรดอะมิโน (amino acid) 2 ชนิด
ได้แก่ ฟีนิลอะลานีน (L- phenylalanine) และกรดแอสพาร์ติก (L-aspartic acid)

 

แอสพาร์เทมมีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีความสามารถในการละลายน้ำได้ดี และให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 200เท่า โดยไม่ให้รสขมของสารเคมีหรือกลิ่นโลหะหลังการกิน เมื่อเทียบกับสารให้ความหวานชนิดอื่น ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ทำให้แอสพาร์เทมเป็นตัวเลือกที่ดีในการใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ในอาหารหลายชนิด แต่อย่างไรก็ตามแอสพาร์เทมยังคงมีข้อเสีย เนื่องจากสามารถทำปฏิกิริยากับรสชาติอื่นในอาหาร จึงไม่สามารถใช้เป็นแทนน้ำตาลได้ทั้งหมด และแอสพาร์เทมยังไวต่อความร้อน ทำให้ไม่เหมาะสมกับการผลิตเบเกอรีเท่าไหร่นัก

 

คุณลักษณะเฉพาะของแอสพาร์เทมคือ เป็นสารให้ความหวานและไม่ให้ผลกระทบเกี่ยวคุณสมบัติด้านกายภาพ เช่น พลังงาน หรือการเป็นก้อน
และยังสามารถทำงานร่วมกับสารให้ความหวานชนิดอื่นได้ จึงมีการนำแอสพาร์เทมมาใช้ผลิตอาหารปราศจากน้ำตาล หรืออาหารพลังงานต่ำ

 

แอสพาร์เทมถูกค้นพบอย่างในบังเอิญโดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ James M. Schlatter  และได้รับการอนุมัติให้สามารถใช้ในการผลิตภัณฑ์อาหารโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration; FDA) ในปี ค.ศ. 1980 ต่อมามีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมของอาหารมากกว่า 4,000 ชนิด เช่น โยเกิร์ต หมากฝรั่ง เครื่องดื่มลดน้ำหนัก น้ำผลไม้ ผงสำหรับเติมเครื่องดื่ม เป็นต้น

 

กระบวนการผลิต

  • วัตถุดิบ
    แอสพาร์เทมเป็นสารประกอบที่ได้มาจากกรดอะมิโนและเป็นสารที่พืชและสัตว์ใช้ในการสังเคราะห์โปรตีนที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ซึ่งกรดอะมิโนที่นำมาใช้ในการผลิตแอสพาร์เทมได้แก่ L- phenylalanine และ L-aspartic acid

กรดอะมิโนทุกชนิดมีคุณสมบัติและลักษณะเฉพาะ ซึ่งมีองค์ประกอบได้แก่หมู่อะมิโน หมู่คาร์บอกซิลและสายโซ่ โดยกรดอะมิโนแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติทางเคมีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสายโซ่ในกรดอะมิโน นอกจากนี้คุณสมบัติของกรดอะมิโนยังขึ้นอยู่กับรูปร่างของโมเลกุลที่เรียกว่า ไอโซเมอร์ (isomers) ซึ่งถูกกำหนดด้วยตัวอักษร D กับ L และในการผลิตแอสพาร์เทมจะใช้เพียงกรดอะมิโนชนิด L เท่านั้น เนื่องจากเป็นโครงสร้างเดียวที่ให้รสหวาน ในความเป็นจริงกรดอะมิโน L- phenylalanine และ L-aspartic acid ไม่ได้มีรสหวาน โดย L- phenylalanine มีรสชาติขมและ L-aspartic acid ไม่มีรสชาติ แต่เมื่อนำกรดอะมิโนทั้งสองชนิดมารวมกันเป็นสารประกอบไดเปปไทด์ จึงมีรสหวานได้

  • กระบวนการหมัก
    ในกระบวนการผลิตแอสพาร์เทมมีการใช้กรดอะมิโนเป็นสารตั้งต้น ซึ่งได้จากกระบวนการหมักโดยตรงโดยใช้จุลินทรีย์ เพราะทำให้ได้กรดอะมิโนที่มีความจำเพาะและมีปริมาณมาก โดยกระบวนหมักทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 3 วัน

ขั้นตอนที่ 1
เริ่มกระบวนการหมัก คือ ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ในหลอดทดลองที่มีอาหารจำเป็นต่อการเจริญเติบโต จากนั้นนำจุลินทรีย์ไปบ่มเพื่อเพิ่มจำนวน ซึ่งจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในการผลิตได้แก่ B. flavum จะผลิต L-aspartic acid และ C. glutamicum จะผลิต L-phenylalanine

ขั้นตอนที่ 2
ปรับสภาวะถังบ่มจุลินทรีย์ โดยการเติมสิ่งต่าง ๆ ลงในถัง ได้แก่ น้ำอุ่น อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น โมแลส (molasses) กลูโคส ซูโครส เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งของคาร์บอน เช่น กรดอะซีติก แอลกอฮอล์ และ ไฮโดรคาร์บอน และเป็นแหล่งของไตรเจน เช่น แอมโมเนีย ยูเรีย เป็นต้น ทั้งหมดที่กล่าวนี้ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นที่จุลินทรีย์ใช้ในการสร้างกรดอะมิโนที่มีประสิทธิภาพและปริมาณสูง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยในการเจิรญเติบโตอื่น ๆ อีกเช่น วิตามิน กรดอะมิโน เป็นต้น ภายในถังบ่มประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการควบคุมสภาวะการหมักทั้งอัตราการไหลของอาหารเลี้ยงเชื้อ ความดัน เพื่อให้ได้จุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติตรงกับมาตรฐาน จากนั้นจึงถ่ายจุลินทรีย์ที่ได้ลงในถังหมัก

ขั้นตอนที่ 3
กระบวนการหมัก จะมีลักษณะคล้ายกับถังบ่ม แต่มีขนาดใหญ่กว่า โดยมีการเติมสารต่าง ๆ เช่นเดียวกับถังบ่ม แต่จะมีการควบคุมค่า pH ให้เหมาะสมกับจุลินทรีย์มากที่สุด ในถังนี้จำเป็นต้องควบคุมปริมาณแอมโมเนียอย่างละเอียด เพราะจะส่งผลถึงปริมาณและคุณภาพของกรดอะมิโนที่ผลิตได้

ขั้นตอนที่ 4
หลังจุลินทรีย์ผลิตกรดอะมิโนได้ตามที่ต้องการแล้ว จะเป็นขั้นตอนการแยกกรดอะมิโน โดยเริ่มการวิธีการปั่นเหวี่ยง (centrifugal separator) ซึ่งจะแยกกรดอะมิโนส่วนใหญ่ออกมาได้ จากนั้นนำไปทำให้บริสุทธิ์ด้วยการวิธีแลกเปลี่ยนไอออน (ion-exchange) เพื่อให้ได้กรดอะมิโนที่ต้องการ หลังจากนั้นกรดอะมิโนจะถูกอัดเข้าไปในถังทำให้ตกผลึก และเข้าสู่เครื่องแยกผลึก จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการทำแห้งทำให้ได้ผลึกอะมิโนที่พร้อมสำหรับกระบวนการสังเคราะห์แอสพาร์เทม

  • กระบวนการสังเคราะห์

แอสพาร์เทมสามารถสังเคราะห์ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี ดังนี้ เริ่มจากการปรับแต่งฟีนิลอะลานีนโดยการนำไปทำปฏิกิริยากับเมธานอล จากนั้นนำไปรวมกับกรดแอสพาร์ติก จึงได้เป็นแอสพาร์เทม

ขั้นตอนที่ 5
กรดอะมิโนที่ได้จากกระบวนการหมัก จะถูกนำไปผลิตแอสพาร์เทม เริ่มจากนำฟีนิลอะลานีนไปทำปฏิกิริยากับเมธานอลจะได้สารประกอบเรียกว่า L-phenylalanine methyl ester ส่วนกรดแอสพาร์ติกจะถูกดัดแปลงโดยการเติมวงเบนซีนเข้าไปในโมเลกุล เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนดังกล่าวได้รับผลกระทบจากปฏิกิริยาอื่น ๆ ทำให้สามารถจำกัดบริเวณในโมเลกุลที่ต้องการให้แอสพาร์ติกทำปฏิกิริยาได้

ขั้นตอนที่ 6
หลังจากปรับแต่งโมเกลกุลกรดอะมิโนสำเร็จแล้ว จะทำการสูบกรดอะมิโนเข้าถังทำปฏิกิริยา และพักไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิจนถึงประมาณ 65oC เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นปรับอุณหภูมิให้เย็นลงที่อุณหภูมิห้อง เพื่อให้เกิดปฏิกิริยา ทำการเจือจางด้วยตัวทำลายละลายที่เหมาะสมและทำให้เย็นจนมีอุณหภูมิ -18oC ทำให้เกิดการตกผลึก จากนั้นแยกผลึกที่ได้โดยการกรองและทำให้แห้ง ผลึกที่ได้จะเป็นสารมัธยันตร์ (intermediate) ของปฏิกิริยาสังเคราะห์แอสพาร์เทม

ขั้นตอนที่ 7
การเปลี่ยนสารมัธยันตร์เป็นแอสพาร์เทม โดยการนำสารที่ได้ไปทำปฏิกิริยากับกรดแอซิติก ในถังขนาดใหญ่ที่บรรจุกรด ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะพาราเดียม และไฮโดรเจน จากนั้นผสมให้เข้ากันและเกิดปฏิกิริยาเป็นเวลา 12 ชั่วโมง

  • การทำให้บริสุทธิ์

ขั้นตอนที่ 8
กำจัดโลหะที่ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยวิธีการกรองและนำไปกลั่นเพื่อกำจัดตัวทำละลาย จากนั้นจะได้เป็นของแข็งเหลืออยู่ ของแข็งเหล่านี้จะถูกทำให้บริสุทธิ์โดยการนำไปละลายในสารละลายเอธานอลและทำให้ตกผลึกอีกครั้ง จากนั้นนำผลึกที่ได้ไปกรองและทำให้แห้งก็จะได้ผงแอสพาร์เทมบริสุทธิ์

 

การประยุกต์ใช้

แอสพาร์เทมถูกใช้เป็นสารให้ความหวานน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายชนิด เช่น ไซรัป น้ำสลัด น้ำอัดลมขนมกรุบกรอบ เป็นต้น และเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยมีประเทศที่ใช้แอสพาร์เทมกว่า 100 ประเทศ นอกจากนี้แอสพาร์เทมยังสามารถใช้งานร่วมกับสารให้ความหวานได้อีกหลายชนิด เช่น แอซีซัลเฟมโพแทสเซียม (Acesulfame Potassium)  ซูคาโรส (Sucralose) โซเดียมแซกคาริน (Sodium Saccharin) โซเดียมไซคลาเมต (Sodium Cyclamate) เป็นต้น

ตัวอย่างอาหารและเครื่องดื่มที่มีการใช้แอสพาร์เทมเป็นสารให้ความหวาน

  • เครื่องดื่ม 
    เครื่องดื่มที่มีระบบการบรรจุแบบปลอดเชื้อ (Aseptic drinks)
    น้ำอัดลม (Carbonated drinks)
    ผลิตภัณฑ์พร้อมดื่ม (Still/RTD beverages)
    ชาและกาแฟ
    เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ( < 7% alcohol)
    น้ำผลไม้

 

  • อาหาร
    ขนมหวานต่าง ๆ เช่น ลูกอม หมากฝรั่ง ช็อคโกแลต คาราเมลทอฟฟี่ เป็นต้น
    ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต นม ไอศกรีม เป็นต้น
    ผลิตภัณฑ์เบเกอรี เช่น เค้ก มัฟฟิน คุกกี้ พายผลไม้ บราวนี มาการอง เป็นต้น
    อาหารว่าง เช่น กราโนลาร์บาร์ ซีเรียล พุดดิ้ง เป็นต้น

 

อ้างอิง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

น้ำหนัก ไม่ระบุ
ขนาด

, , ,

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “แอสพาร์เทม (Aspartame)”

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *